น.ส.พิมพ์นารา หิรัญกสิ หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 67 คาดจะขยายตัว 2.7% ปรับลดจากคาดการณ์ก่อนหน้าไว้ที่ 3.4% แต่ขยายตัวเพิ่มจากปี 66 ที่ผ่านมาที่ขยายตัว 1.9% จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวผ่านมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ, การบริโภคภาคเอกชนที่เติบโตต่อเนื่อง และการใช้จ่ายภาครัฐมีบทบาทมากขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2 ปีนี้ เนื่องจาก พ.ร.บ.งบประมาณปี 67 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาทมีผลบังคับใช้ จะทำให้การบริโภคและการลงทุนกลับมาขยายตัว จากหดตัวในปี 66
สำหรับงบประมาณปี 67 ภาครัฐมีแผนการเบิกจ่ายอยู่แล้ว ถ้ามีออกมาคืองบประมาณ 67 มีผลเริ่มใช้ก็จะช่วยพยุงเศรษฐกิจ กระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐและกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน ซึ่งจากในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ยังไม่เห็นว่างบประมาณจะไม่ผ่านหรือรอจนค้างปี เชื่อว่างบประมาณปี 67 จะผ่านออกมาได้ภายในเดือนเม.ย.-พ.ค.นี้
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยที่ประเมินนี้ยังไม่รวมมาตรการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต และยังอยู่ระหว่างติดตามมาตรการดังกล่าว ทั้งเงื่อนไข ระยะเวลา จำนวนบุคคลที่ได้รับ สำหรับเศรษฐกิจไทยในปีนี้ มองว่า ได้รับปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว จากมาตรการสนับสนุนของภาครัฐและความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวที่ปรับดีขึ้น โดยคาดว่าปีนี้จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 35.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ 28.2 ล้านคนคำพูดจาก เล่นเกมสล็อตออน
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโดยรวมยังมีแนวโน้มเติบโตต่ำกว่า 3% ต่อเนื่องนับตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 67 คาดว่าจะยังอยู่ระดับต่ำต่อเนื่อง 1.1% ชะลอลงเล็กน้อยจาก 1.2% ในปี 66 ซึ่งจะเพิ่มโอกาสให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงตั้งแต่ช่วงกลางปีนี้เป็นต้นไป เพื่อสนับสนุนให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีความต่อเนื่องคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“เศรษฐกิจไทยปี 67 มีแนวโน้มปรับดีขึ้น แต่อยู่ระดับต่ำเมื่อเทียบกับอาเซียน แต่มีปัจจัยภายในประเทศกดดันการเติบโตของเศรษฐกิจไทย คือปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงท่ามกลางต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น ผลกระทบภัยแล้งรุนแรงขึ้น รวมถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น ประชากรสูงวัย การขาดแคลนแรงงาน และความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงในหลายอุตสาหกรรม ส่วนปัจจัยภายนอกได้แก่ ผลกระทบดอกเบี้ยประเทศหลักสูง การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนท่ามกลางความเปราะบางของภาคอสังหาริมทรัพย์ การแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐและจีน รวมถึงความขัดแย้งระหว่างประเทศ”