หลายคนที่กู้ซื้อบ้านกับแบงก์ ผ่อนค่างวดไป3 ปี แล้ว ดอกเบี้ยที่เคยผ่อนอยู่เพิ่มสูงขึ้นเป็นดอกเบี้ยลอยตัว วิธีที่จะทำให้ดอกเบี้ยลดลงแนะนำให้ไป ขอรีเทนชั่น หรือ รีไฟแนนซ์ กับแบงก์เพื่อทำให้ดอกเบี้ยถูกลง ซึ่งทั้งสองวิธีนี้แตกต่างกัน
อธิบายง่ายๆ การรีเทนชั่น การที่ผู้กู้ กู้บ้านกับแบงก์อยู่มาระยะเวลาหนึ่ง หรือครบ 3 ปี จากที่เคยจ่ายดอกเบี้ยในอัตราคงที่ก็จะกลายเป็นดอกเบี้ยลอยตัว ต้องขอลดดอกเบี้ยกับธนาคารส่วนการรีไฟแนนซ์ คือ การย้ายไปยังธนาคารใหม่ โดยใช้หลักประกันเดิม คือบ้านของเราเพื่อขอลดดอกเบี้ยลง
มีคำแนะนำจาก คุณนฤมล บุญสนอง นักวางแผนการเงิน CFP® เปรียบเทียบการรีเทนชั่น กับ รีไฟแนนซ์ มีทั้งข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกัน อย่างเช่น การรีเทนชั่นกับธนาคารเดิมก็ไม่ต้องยุ่งยากเตรียมเอกสารมากมายเพิ่มขึ้น ค่าธรรมเนียมอาจจะต่ำเพียง 1-2% ของวงเงินที่ขอกู้ ระยะเวลาการอนุมัติเร็ว แต่ก็อาจจะขอลดดอกเบี้ยได้น้อยหน่อย
ส่วนการรีไฟแนนซ์ก็อาจจะได้ลดดอกเบี้ยมากกว่าการรีเทนชั่นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของธนาคาร แต่อาจจะต้องเตรียมเอกสารเพิ่มมากขึ้น และที่สำคัญการขอรีไฟแนนซ์ เหมือนกับการขอยื่นกู้ใหม่ จะต้องมีการประเมินรายได้ใหม่ใช้เวลาการขออนุมัตินานขึ้น และอาจจะต้องมีค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น
ก่อนที่จะรีไฟแนนซ์หรือ รีเทนชั่น มีคำแนะนำว่า ควรจะหาข้อมูล อย่างน้อยๆสัก 5 ธนาคารเพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย และเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย ที่อาจจะเพิ่มขึ้น ว่าจะคุ้มค่ากับดอกเบี้ยที่ลดลงหรือเปล่า และเปรียบเทียบดอกเบี้ยแต่ละธนาคาร ส่วนใหญ่จะเฉลี่ยอยู่ที่ 3.3 ถึง 4.5%
นอกจากการรีไฟแนนซ์ จะทำให้ได้ดอกเบี้ยลดลง นักวางแผนการเงินก็ยังแนะนำนะ สำหรับคนที่มีหนี้หลายทางมีโอกาสของวงเงินกู้เพิ่ม รวมหนี้ที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงๆ มาไว้ก้อนเดียว โดยใช้บ้านเป็นหลักประกัน จะได้จ่ายดอกเบี้ยทางเดียวและเป็นดอกเบี้ยที่ถูกลงด้วย
หลังจากรีไฟแนนซ์ และได้ยืดระยะเวลา การกู้นานขึ้น ก็มีคำแนะนำว่าควรจะรีบโปะ เพื่อให้เงินต้นลดลง จะทำให้จ่ายดอกเบี้ยน้อยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
การรีไฟแนนซ์ มีโอกาสไม่ผ่าน ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของรายได้ รายได้ต่อเดือนพอที่จะผ่อนชำระหรือเปล่า ประวัติการผ่อนชำระดีไหม ขึ้นอยู่กับการประเมินของธนาคารคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
การตัดสินใจเลือกว่าจะรีเทนชั่นกับธนาคารเดิมหรือว่ารีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่ มีหลายปัจจัยให้ต้องพิจารณา เลือก ในแบบที่เหมาะ กับผู้กู้มากที่สุด เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและ ไม่ให้เป็นภาระในระยะยาว