นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษ “Reformation of Thai Economy Amidst Polycrisis: การปฏิรูปเศรษฐกิจไทยท่ามกลางวิกฤตรอบด้าน”ในงาน Foreign Industrial Club (FIC) 2023: Reforming Thailand มีนักลงทุนไทย-ต่างชาติกว่า 300 ราย ทูตจาก 35 ประเทศ จัดโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)ว่า ท่ามกลางความท้าทายระดับโลก เช่น ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไทยขยายตัวเพียงแค่ 1.8% มีหนี้ภาคครัวเรือน 90% ประเทศไทยจำเป็นต้องรีบเร่งในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และกำหนดทิศทางที่มีประสิทธิภาพ นำไปสู่การพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมและยั่งยืน
รวมทั้งจำเป็นต้องส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและสร้างความได้เปรียบ โดยบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการที่มีมูลค่าสูงเพื่อให้สอดรับกับความต้องการของโลก ที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้เร่งดำเนินนโยบายควิกวิน ทั้งการลดราคาพลังงาน การลดต้นทุนภาคเกษตร ส่งเสริมและช่วยเหลือเอสเอ็มอี ทั้งยังมีการเตรียมนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ดิจิทัลวอลเลต เพิ่มกำลังซื้อ ให้ประชาชน ตลอดจนยังมีมาตรการฯฟรีวีซ่าให้นักท่องเที่ยว และในอนาคตจะมุ่งการเปลี่ยนแปลงการท่องเที่ยวให้เป็นการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและเกิดความยั่งยืน ส่งเสริมการโปรโมทอุตสาหกรรมการจัดประชุมสัมมนา
พร้อมกันนี้รัฐบาลไทยยังเน้นผลักดันนโยบายและมาตรการการลงทุน การเตรียมความพร้อมของรัฐเพื่อรองรับการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เขตเศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาแลนด์บริด มาตรการที่เป็นประโยชน์เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการลงทุน การเจรจาความตกลงเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ตลอดจนการพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตามรัฐบาลมุ่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ให้เป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ตลอดห่วงโซ่อุปทาน การขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน การดำเนินยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็นประตูยุทธศาสตร์สำคัญด้านการค้า การลงทุน และโลจิสติกส์ในภูมิภาค การเร่งพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและอุตสาหกรรมดิจิทัล ตลอดจนการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“เราพร้อมเปิดรับการลงทุนและโนฮาวด์ โดยจะร่วมมือกับภาคเอกชนและนักลงทุน เพื่อนำ ประเทศไทยเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจใหม่โดยมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ ยานพาหนะไฟฟ้า , ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ , อุตสาหกรรมดิจิทัล สร้างสรรค์ และบริการที่มีมูลค่าสูง”
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่างาน Foreign Industrial Club (FIC) 2023: Reforming Thailand เป็นเวทีแรกของประเทศไทยในการพบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรม การค้า และการลงทุนระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนไทย ผู้ประกอบการและบริษัทต่างชาติรายใหญ่ที่ลงทุนในประเทศไทย และทูตจากประเทศต่าง 35 ประเทศ รวม 300 คน หวังสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ เสริมสร้างความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ
ท่ามกลางความท้าทายของเศรษฐกิจที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับความเสี่ยงจาก Polycrisis ที่เข้ามารุมล้อม ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี สงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยี ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งที่ผ่านมาภาคธุรกิจพยายามปรับตัวเพื่อก้าวข้ามความท้าทาย และความอยู่รอดด้วยการปรับเปลี่ยนบิสสิเนส โมเดล
ทั้งนี้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. ได้มุ่งเน้นที่จะยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม โดยมีการแบ่งอุตสาหกรรมออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 คือ อุตสาหกรรมเดิมที่ประกอบด้วย 46 กลุ่มอุตสาหกรรม 11 คลัสเตอร์ ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทำให้ต้องเร่งส่งเสริมเพื่อให้เกิดปรับตัวให้สามารถรักษาศักยภาพของอุตสาหกรรม และกลุ่มที่ 2 อุตสาหกรรมใหม่ ประกอบด้วย 1.การส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายโดยให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และอุตสาหกรรมดิจิทัล
2.การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยบีซีจี โมเดล ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล มีการใช้เทคโนโลยีสะอาด และเทคโนโลยีสีเขียว ในระบบการผลิต และ 3.การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคอุตสาหกรรม เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งถือเป็นเมกะเทรนด์ของโลกที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทย และกรอบการส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทย
ด้วยนโยบายดังกล่าว ประเทศไทยพร้อมเดินหน้าพัฒนา Supply Chain โดยเฉพาะในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงด้านแรงงาน และบุคลากรที่มีทักษะสูงที่เพียงพอ เพื่อให้ประเทศไทยกลายเป็นหมุดหมายปลายทางที่โดดเด่น พร้อมรองรับการย้ายฐานการผลิต และการลงทุนของต่างชาติ